คำถาม 1 ท่านมีอายุ 60 ปีขึ้นไปใช่หรือไม่? ใช่ ไม่ใช่ ฉันมีอายุเกิน 50 ปี ฉันมีอายุเกิน 40 ปี ฉันมีอายุต่ำกว่า 40 ปี ต่อไป อายุ 60 ปีขึ้นไป? ความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนจะเพิ่มสูงขึ้นตามวัย และแม้ว่าท่านจะไม่มีความเสี่ยงทางคลินิกอื่นๆ เลยก็ตาม แต่ถ้าท่านเป็นผู้หญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ชายที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ท่านควรขอรับคำปรึกษาเรื่องสุขภาพกระดูกในวันตรวจสุขภาพครั้งต่อไปของท่าน คำถาม 2 ท่านมีภาวะกระดูกหักเมื่อย่างเข้าสู่วัย 50 ปีใช่หรือไม่? ใช่ ไม่ใช่ ย้อนกลับ ต่อไป กระดูกหักเมื่อย่างเข้าสู่วัย 50 ปี? หากท่านมีภาวะกระดูกหักหลังจากการหกล้มเพียงเบาๆ (จากท่ายืนปกติ) นั่นอาจเป็นผลมาจากโรคกระดูกพรุน กระดูกที่หักเพียงหนึ่งจุดถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลให้กระดูกในจุดอื่นๆ เกิดการหักต่อเนื่องได้ และจะทำให้มีความเสี่ยงในระดับสูงที่สุดในอีกสองปีต่อมา คำถาม 3 ท่านมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ใช่หรือไม่? (ค่าดัชนีมวลกาย BMI ต่ำกว่า 19 ใช่หรือไม่)?) คำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) ของท่าน: น้ำหนักของท่าน กิโลกรัม Ibs ส่วนสูงของท่าน ซม. ฟุต ใน ค่าดัชนีมวลกาย (BMI): คำตอบของท่านแสดงให้เห็นว่าท่านมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกหักในระดับที่สูงมาก เราขอแนะนำให้ท่านติดต่อขอรับการประเมินสุขภาพกระดูก และปรึกษาถึงแนวทางในการลดความเสี่ยงของภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนกับแพทย์ของท่าน ย้อนกลับ ต่อไป น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์? ดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ต่ำกว่า 19 กก./เมตร2 (เทียบเท่ากับ 19 ปอนด์/นิ้ว2) ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน การมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์จะส่งผลให้ระดับเอสโตรเจนในเด็กสาวและผู้หญิงลดต่ำลงกว่าปกติ เช่นเดียวกับผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดโรคกระดูกพรุนขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่มีกระดูกเปราะจะมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักสูงกว่าคนปกติ คำถาม 4 เมื่อย่างเข้าอายุ 40 ปี ส่วนสูงของท่านลดลงเกิน 4 ซม. (ประมาณ 1.5 นิ้ว) ใช่หรือไม่? ใช่ ไม่ใช่ ไม่รู้ ไม่ได้สังเกต ย้อนกลับ ต่อไป ส่วนสูงลดลง? ส่วนสูงที่ลดลงกว่า 4 ซม. (1.5 นิ้ว) ในผู้ใหญ่ มักเกิดจากภาวะกระดูกสันหลังหักจากโรคกระดูกพรุน ภาวะกระดูกสันหลังหักในบางคนอาจไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด ซึ่งก็หมายความว่าบางคนอาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้ว่าตนเองมีอาการ คำถาม 5 ทั้งบิดาและมารดาของท่านมีภาวะกระดูกสะโพกหักใช่หรือไม่? ใช่ ไม่ใช่ ย้อนกลับ ต่อไป บิดามารดามีประวัติการป่วย? หากบิดามารดาของท่านเคยกระดูกสะโพกหัก ท่านอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักในระดับที่สูงกว่าคนปกติ แต่ถ้าทั้งบิดาและมารดาของท่านมีอาการหลังค่อม หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน นั่นอาจถือเป็นสัญญาณที่แสดงว่าท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในระดับที่สูงยิ่งขึ้น คำถาม 6 ท่านมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้บ้างหรือไม่? โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคระบบทางเดินอาหาร (โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (IBD), โรคแพ้กลูเตน) มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งเต้านม เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคของต่อมไทรอยด์ (ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง) โรคปอด (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)) ระดับเทสโทสเตอร์โรนต่ำ (ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ) ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัย ภาวะประจำเดือนขาดช่วง หรือเคยผ่าตัดรังไข่ (ระดับเอสโตรเจนต่ำจากภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ) ภาวะเคลื่อนไหวไม่ได้ โรคติดเชื้อเอชไอวี ไม่รู้ว่ามีอาการใดบ้าง แต่จะไปสอบถามจากแพทย์ ไม่มีอาการข้างต้นแต่อย่างใด ย้อนกลับ ต่อไป ภาวะผิดปกติที่อาจส่งผลต่อโรคกระดูกพรุน ภาวะผิดปกติบางประการอาจเป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกหักได้ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า โรคกระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิ (Secondary Osteoporosis) โดยในบางอาการอาจเพิ่มความเสี่ยงของการหกล้มซึ่งจะนำไปสู่ภาวะกระดูกหักได้ คำถาม 7 ท่านเคยได้รับการรักษาโดยการใช้ยาดังต่อไปนี้บ้างหรือไม่? กลูโคคอร์ติคอยด์ หรือที่มักรู้จักในชื่อของ “สเตอรอยด์” ที่ใช้รักษาอาการอักเสบในภาวะผิดปกติหลายประเภท (เช่น เพรดนิโซโลน) อะโรมาเตส อินฮิบิเตอร์ ที่ใช้รักษามะเร็งเต้านม วิธีบำบัดด้วยการลดฮอร์โมนแอนโดรเจน ที่ใช้รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ไธอะโซลิดินีไดโอน ที่ใช้รักษาเบาหวาน (เช่น ไพโอกลิตาโซน) ยากดภูมิค้มกัน ที่ใช้หลังการผ่าตัดปลูกถ่าย (เช่น แคลโมดูลิน/แคลซินิวริน ฟอสฟาเตส อินฮิบิเตอร์) กลุ่มยาแก้ซึมเศร้า ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ ฯลฯ (เช่น ยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอบางตัว (SSRI) อย่างฟลูอ็อกเซทีน, ฟลูว็อกซามีน และพาร็อกซีทีน) ยากันชัก ที่ใช้รักษาโรคลมชัก (เช่น ฟีโนบาร์บิทอล, คาร์บามาเซพีน และเฟนิโทอิน) ไม่รู้ว่ามีอาการใดบ้าง แต่จะไปสอบถามจากแพทย์ ไม่มีอาการข้างต้นแต่อย่างใด ย้อนกลับ ต่อไป การใช้ยาที่อาจส่งผลต่อโรคกระดูกพรุน การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานอาจกระตุ้นให้มวลกระดูกลดลงกว่าปกติได้ ซึ่งจะไปเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกหักได้ ส่วนยาหรือการรักษาบางวิธียังอาจเพิ่มความเสี่ยงของการหกล้มที่จะทำให้กระดูกหักได้อีกด้วย คำถาม 8 ท่านคิดว่าตนเองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด (เกินกว่า 3 หน่วยต่อวัน) และ/หรือ ยังสูบบุหรี่อยู่ใช่หรือไม่? ใช่ ไม่ใช่ ย้อนกลับ จบแบบทดสอบ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป? การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินพอดีจะส่งผลในเชิงลบต่อสุขภาพกระดูก และยังอาจทำให้มีโอกาสหกล้มบ่อยขึ้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะกระดูกหักได้อีกด้วย สูบบุหรี่จัด? ไม่ว่าท่านจะยังคงสูบบุหรี่อยู่ หรือเคยสูบแต่เลิกไปแล้วก็ตาม ท่านควรจะระลึกไว้เสมอว่าการสูบบุหรี่จะส่งผลในเชิงลบต่อสุขภาพกระดูก ท่านยังไม่ได้เลือกคำตอบ ท่านควรเข้ารับการทดสอบเพื่อคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) ใช่ น้ำหนักของฉันต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่ใช่ น้ำหนักของฉันไม่ต่ำกว่าเกณฑ์